ชื่อโครงการ
แผนงาน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
โครงการจัดห้องเรียนเชิงบวก
งานวิชาการ
โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์)
นายยอดยิ่ง ราชิวงศ์
สอดคล้องมาตรฐานภายในของสถานศึกษา
1. มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
1.1 ประเด็นพิจารณาที่ 3.1 : จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล เต็มศักยภาพ
1.1 ประเด็นพิจารณาที่ 3.3 : จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย
2. มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.1 ประเด็นพิจารณาที่ 3.1 : จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
1.1 ประเด็นพิจารณาที่ 3.3 : มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 กลยุทธ์ปฐมวัยที่ 11 : ครูจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ
3.1 กลยุทธ์ปฐมวัยที่ 13 : ครูจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ เหมาะสมกับวัย
3.2 กลยุทธ์ขั้นพื้นฐานที่ 17 : ครูจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
3.2 กลยุทธ์ขั้นพื้นฐานที่ 19 : ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
ลักษณะโครงการ
ระยะเวลาที่เริ่มดำเนินการ
โครงการต่อเนื่อง
1 กรกฎาคม 2563 – 30 เมษายน 2564
1. หลักการและเหตุผล
ความมุ่งหมายและหลักการของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 6 กล่าวว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เป้าหมายเพื่อให้เยาวชนเป็นคนดี มีความรู้ และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ในการที่จะพัฒนาเยาวชนให้มีคุณลักษณะตามที่ต้องการ ครูผู้สอนจึงมีความสำคัญอย่างมาก ที่จะคอยชี้แนะ และวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียน การพัฒนาให้ครูมีความรู้
มีทักษะและความชำนาญในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะตามที่ต้องการ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งการปรับปรุงภูมิทัศน์ หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการจัดทำและพัฒนามาตรฐานสากลของประเทศไทยด้านการจัดการและสนับสนุนผลงานของรัฐ ซึ่งการปรับปรุงภูมิทัศน์ จะเป็นกิจกรรม ให้ทุกคนในหน่วยงานมีส่วนร่วมในการจัดการปรับปรุงภูมิทัศน์ ให้มีความสวยงาม น่าอยู่ น่าเรียน มีความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมที่ดีต่อไป
ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารเรียนมั่นคง สะอาดและปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวก พอเพียง อยู่ในสภาพใช้การได้ดี สภาพแวดล้อมร่มรื่น และมีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน
2. เพื่อจัดโครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เรียน
3. เพื่อจัดห้องสมุดที่ให้บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองและหรือเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
3. เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1. มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารเรียนมั่นคง สะอาดและปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวก พอเพียง อยู่ในสภาพใช้การได้ดี สภาพแวดล้อมร่มรื่น และมีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน อยู่ในระดับ ร้อยละ 77
2. มีห้องสมุดที่ให้บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองและหรือเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับ ร้อยละ 77
เชิงคุณภาพ
โรงเรียนมีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารเรียนมั่นคง สะอาดและปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวก พอเพียง อยู่ในสภาพใช้การได้ดี สภาพแวดล้อมร่มรื่น และมีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน
4. วิธีดำเนินการ
กิจกรรม
1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติจากผู้บริหาร
ผู้รับผิดชอบ
นายยอดยิ่ง ราชิวงศ์
ระยะเวลา
ก.ค. 2563
2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรรมการดำเนินงานตามโครงการ
นางสาวจุฑาภรณ์ หาญพรหม
ก.ค. 2563
3. ดำเนินการตามกิจกรรม
จัดหาอุปกรณ์ให้กับห้องต่างๆ
ออกแบบและปรับปรุง
นายยอดยิ่ง ราชิวงศ์
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
4. จัดทำแบบประเมินโครงการ
นายยอดยิ่ง ราชิวงศ์
เม.ย. 2564
5. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง
นายยอดยิ่ง ราชิวงศ์
เม.ย. 2564
6. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการและรายงานผู้บริหารสถานศึกษา
นายยอดยิ่ง ราชิวงศ์
มี.ค. - เม.ย. 2564
5.งบประมาณ
4,500 บาท
6. รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม
ขั้น
P
ที่
1
กิจกรรม
ศึกษา รวบรวม ข้อมูล สภาพปัจจุบัน ปัญหา นำเสนอข้อมูล
ระยะเวลา
ปีการศึกษา 2563
ผู้รับผิดชอบ
คณะครู
P
2
ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
ก.ค. 2563
คณะครู
D
3
ดำเนินงานตามกิจกรรม
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
นายยอดยิ่ง ราชิวงศ์
C
4
นิเทศ ติดตามประเมินผล สรุปและรายงาน
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
นายชาญศิลป์ ส่งเสริม
นายยอดยิ่ง ราชิวงศ์
ครูประจำชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
A
5
นำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนา
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
นายยอดยิ่ง ราชิวงศ์
ครูประจำชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
7. การติดตามประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารเรียนมั่นคง สะอาดและปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวก พอเพียง อยู่ในสภาพใช้การได้ดี สภาพแวดล้อมร่มรื่น และมีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน
วิธีการประเมิน
สังเกตพฤติกรรม
การตรวจเอกสาร หลักฐานร่องรอยหรือข้อมูลเชิงประจักษ์
เครื่องมือ
แบบสังเกตพฤติกรรม
การสัมภาษณ์
การสอบถาม
2. มีห้องสมุดที่ให้บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองและหรือเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
สังเกตพฤติกรรม
การตรวจเอกสาร หลักฐานร่องรอยหรือข้อมูลเชิงประจักษ์
แบบสังเกตพฤติกรรม
การสัมภาษณ์
การสอบถาม
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ห้องเรียนทุกห้องมีการจัดสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก พอเพียง ใช้การได้ดี นำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและหรือเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
9. ผู้เสนอโครงการ
นายยอดยิ่ง ราชิวงศ์
10. ผู้เห็นชอบโครงการ
นายประเสริฐ จุลทอง
11. ผู้อนุมัติโครงการ
นายชาญศิลป์ ส่งเสริม