รงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

รางวัล โรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รุ่นที่ 2 ประจำปี 2559

จาก มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ให้ไว้ ณ วันที่ 17 กันยายน 2560

รางวัล ชนะเลิศเหรียญทอง การประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิถีไทย วิถีพุทธ สพฐ.

จาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

ให้ไว้ ณ วันที่ 4 กันยายน 2564

ความเป็นมา โรงเรียนวิถีพุทธ

1 ก่อร่างสร้างนวัตกรรรม

โรงเรียนวิถี พุทธเกิดขึ้นในปลายปี 2545 เป็น 1 ใน 5 ของโครงการโรงเรียนรูปแบบใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการ (โครงการโรงเรียนรูปแบบใหม่ 5 รูปแบบ ได้แก่ โรงเรียนในกำกับของรัฐ โรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนสองภาษา โรงเรียนใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ และโครงการนำร่องสรรหา พัฒนา และส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ) การศึกษาแนวพุทธอยู่คู่กับสังคมไทยตลอดมา เมื่อริเริ่มโครงการโรงเรียนวิถีพุทธได้ศึกษาแนวทางของ 3 โรงเรียนที่ได้ใช้แนวพุทธเป็นหลักในการจัดการศึกษา ประกอบด้วย โรงเรียนทอสี โรงเรียนรุ่งอรุณ โรงเรียนอนุบาลหนูน้อย (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสยามสามไตร) และได้เชิญบุคลากรทั้งสามโรงเรียนมาร่วมเป็นคณะทำงาน มีพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) เป็นประธาน รวมเรียกชื่อโรงเรียนจัดการศึกษาแนวพุทธว่า “โรงเรียนวิถีพุทธ” นับแต่นั้นมา คณะทำงานนี้มีการประชุมหลายครั้งต่อเนื่อง เพื่อเรียนรู้ร่วมกันและสร้างความเข้าใจในการดำเนินงาน ต่อมามีการเปิดรับโรงเรียนวิถีพุทธรุ่นแรกของโครงการด้วยการประกาศรับสมัคร และมีโรงเรียนเข้าร่วม จำนวน 89 โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนวิถีพุทธก็คือ

โรงเรียนวิถีพุทธ หมายถึงโรงเรียนในวิถีแห่งปัญญา ที่พัฒนาอย่างบูรณาการในระบบแห่ง ไตรสิกขา สู่ความเป็นพุทธ ผู้เข้าถึงธรรม ซึ่งทำให้เป็นอิสระ โดยมีชีวิตที่ดี เจริญงอกงามมีความสุข จริงแท้ และอยู่ร่วมสังคมอย่างสร้างสรรค์เกื้อกูล สามารถนำโลกไปในวิถีที่ถูกต้อง /วิถีแห่งธรรม (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)) ที่ปรึกษาโครงการ โรงเรียนวิถีพุทธทำงานภายใต้คำปรึกษาของพระเถระผู้ใหญ่ อาทิ พระพรหมคุณาภรณ์ วัดญาณเวศกวัน พระพรหมบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระเทพวิสุทธิกวี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย อีกทั้งมหาเถรสมาคมเคยมีมติ ครั้งที่ 13/2557 มติที่ 207 ให้พระสังฆาธิการสนับสนุนการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ

วิวัฒนาการของการศึกษาแนวพุทธ

ในสมัยก่อนการเรียนรู้ของคนไทยอยู่ใกล้ชิดพุทธศาสนาอย่างมาก เพราะอาศัยวัดเป็นสถานที่เรียนมีพระเป็นผู้สอน หรือเรียนรู้ตามสำนักวิชาชีพต่างๆ การเรียนจะเน้นเรียนรู้เพื่อรู้หนังสือ เรียนวิชาชีพ รวมทั้งบวชเรียนเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และพัฒนาตนเองตามหลักพุทธศาสนา และปรากฏชัดในปี พ.ศ.2418 ที่รัชกาลที่ 5 ทรงอาราธนาให้พระสงฆ์สอนหนังสือไทยในพระอารามหลวงทุกอาราม ซึ่งเมื่อแรกตั้งกระทรวงธรรมการในปี พ.ศ.2435 ก็ยังคงมีลักษณะการเรียนเช่นเดียวกับในอดีต

การเปลี่ยนแปลงที่น่าจะมีส่วนสำคัญให้การศึกษาห่างวัดและพระ เมื่อมีการกระจายโรงเรียนไปทั่วราชอาณาจักร และผู้สอนเปลี่ยนเป็น “ครู” ในปี พ.ศ.2454 แล้วสภาพการเรียนรู้ของคนไทยที่ยิ่งห่างไกลพระพุทธศาสนาตลอดมาจนรัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชดำริว่าการศึกษาไม่ควรแยกไปจากวัด จึงโปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อจากกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมการแทน โดยให้มีหน้าที่ดูแลทั้งการจัดการศึกษาและการศาสนา ผมคิดว่าการปรับเปลี่ยนอาจช่วยให้การศึกษาชำเลืองมองพุทธศาสนาอยู่บ้าง แต่สภาพปัญหามาปรากฏชัดในเหตุผลของการเกิดโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในปี พ.ศ.2501 ที่ระบุว่า รัฐเน้นพุทธิศึกษาถึง 90% แต่ให้ความสำคัญกับจริยศึกษาเพียง 5% ผมคิดว่าอีก 5% ที่หายไปน่าจะเป็นสัดส่วนของหัตถศึกษา ซึ่งสะท้อนว่า การจัดการศึกษาของเราเน้นเนื้อหาวิชาการเพิ่มขึ้นๆ และให้เรื่องคุณธรรมจริยธรรมหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ต่างๆ สอดแทรกและบูรณาการอยู่ในการเรียนเนื้อหาวิชาการ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับระดับความใส่ใจและการมุ่งเน้นของโรงเรียนเป็นสำคัญ แต่ด้วยสภาพปัญหาและวิกฤตการณ์คุณธรรมของคนในสังคมไทย จึงมีข้อเสนอให้นำหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนามาใช้อย่างจริงจังในโรงเรียน ก่อเกิดเป็นโครงการโรงเรียนวิถีพุทธในปลายปี พ.ศ.2545 และมุ่งมั่นดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

รูปธรรมของโรงเรียนวิถีพุทธ

ในระยะแรกมี KPI ประมาณ 54 ตัว ในด้านกายภาพ การเรียนการสอน และพฤติกรรมพื้นฐาน(วิถีชีวิต) ต่อมาปรับเหลือ 29 ตัว นำไปใช้ในการพิจารณาเลือกโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ หรือการประเมินผลการปฏิบัติราชการโดย กพร. หากจะสังเกตทั่วๆไป จะเห็นว่าโรงเรียนจะมีกิจกรรมวันพระ (หรือวันที่โรงเรียนกำหนดขึ้นในแต่ละสัปดาห์) คือ ครูใส่เสื้อขาว มีกิจกรรมสวดมนต์ยาว รับประทานมังสวิรัติ ทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์ เป็นการกระทำด้วยความเข้าใจเหตุและผลว่า ทำไปทำไม เพราะเหตุใด ถึงแม้จะถูกมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็น “พิธีกรรม” แต่ก็ถือว่ามีความจำเป็น และเป็นตัวช่วย สำหรับผู้ที่ยังไม่สามารถเข้าใจและบรรลุจุดมุ่งหมายได้ในทันที ซึ่งบรรยากาศ ปัจจัย และเงื่อนไขดังกล่าว จะช่วยหล่อหลอมให้จิตใจสงบ พิจารณาเรื่องราวต่างๆ ด้วยใจอันใคร่ครวญได้ดียิ่งขึ้น เพื่อการเรียนรู้ให้ถึงแก่นแท้ของไตรสิกขา และแฝงด้วยคุณค่าที่ลึกซึ้งอยู่ทุกป

ผลโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ (2545 - 2556)

เชิงปริมาณ

พ.ศ. 2546 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 89 โรงเรียน

พ.ศ. 2549 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 20,475 โรงเรียน

พ.ศ. 2550 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 21,764 โรงเรียน

พ.ศ. 2551 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 22,190 โรงเรียน

พ.ศ. 2552 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 23,337 โรงเรียน

พ.ศ. 2554 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 24,212 โรงเรียน

พ.ศ. 2555 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 12,159 โรงเรียน

พ.ศ. 2556 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 18,555 โรงเรียน (ข้อมูล ตุลาคม 2556)

พ.ศ. 2557 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 19,382 โรงเรียน (ข้อมูล มิถุนายน 2557)

พ.ศ. 2558 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 20,310 โรงเรียน (ข้อมูล มีนาคม 2558)

โรงเรียนวิถีพุทธ 3 ระดับ

ระดับที่ 1 โรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน รวม 21,574 โรงเรียน ข้อมูล ณ วันที่ 13/9/2558

ตัวชี้วัด อัตลักษณ์ 29 ประการ เป็นเครื่องมือในการพัฒนา

ผู้รับผิดชอบ ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบโรงเรียนวิถีพุทธ

ประจำ สพม. สพป.ทั่วประเทศ

ระดับที่ 2 โรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ๖ รุ่น จำนวน รวม ๖๐๐ โรงเรียน

ตัวชี้วัด อัตลักษณ์ 29 ประการ ที่เป็นผล

ผู้รับผิดชอบ พระนิเทศก์วิถีพุทธ คณะกรรมการ คขวท. และ มจร.

ระดับที่ 3 โรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน จำนวน รวม 77 โรงเรียน

ตัวชี้วัด ตัวบ่งชี้โรงเรียนวิถีพุทธพระราชาน 5 มาตรฐาน 54 ตัวบ่งชี้

ผู้รับผิดชอบ มจร.โรงเรียนรุ่งอรุณ สนก. และ พระนิเทศก์วิถีพุทธ

แนวทางดำเนินการ 29 ประการสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ ประกอบด้วย


1. ด้านกายภาพ 7 ประการ

1.1 มีป้ายโรงเรียนวิถีพุทธ

1.2 มีพระพุทธรูปหน้าโรงเรียน

1.3 มีพระพุทธรูปประจำห้องเรียน

1.4 มีพระพุทธศาสนสุภาษิต วาทะธรรม พระราชดำรัสติดตามที่ต่างๆ

1.5 มีความสะอาด สงบ ร่มรื่น

1.6 มีห้องพระพุทธศาสนาหรือลานธรรม

1.7 ไม่มีสิ่งเสพติด เหล้า บุหรี่ 100 %


2. ด้านการเรียนการสอน 5 ประการ

2.1 บริหารจิต เจริญปัญญา ก่อนเข้าเรียน เช้า บ่าย ทั้งครู และ นักเรียน

2.2 บูรณาการวิถีพุทธ ทุกกลุ่มสาระ และในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

2.3 ครู พานักเรียนทำโครงงานคุณธรรม กิจกรรมจิตอาสาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

2.4 ครู ผู้บริหาร และ นักเรียน ทุกคน ไปปฏิบัติศาสนกิจที่วัดเดือนละ 1 ครั้ง มีวัดเป็นแหล่งเรียนรู้

2.5 ครู ผู้บริหาร และ นักเรียนทุกคน เข้าค่ายปฏิบัติธรรมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง


3. ด้านพฤติกรรม ครู ผู้บริหารโรงเรียน และนักเรียน 5 ประการ

3.1 รักษาศีล 5

3.2 ยิ้มง่าย ไหว้สวย กราบงาม

3.3 ก่อนรับประทานอาหารจะมีการพิจารณาอาหารรับประทานอาหาร ไม่ดัง ไม่หก ไม่เหลือ

3.4 ประหยัด ออม ถนอมใช้ เงิน และ สิ่งของ

3.5 มีนิสัยใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก


4. ด้านการส่งเสริมวิถีพุทธ 8 ประการ

4.1 ไม่มีอาหารขยะขายในโรงเรียน

4.2 ไม่ดุ ด่า นักเรียน

4.3 ชื่นชมคุณความดี หน้าเสาธงทุกวัน

4.4 โฮมรูมเพื่อสะท้อนความรู้สึก เช่นความรู้สึกที่ได้ทำความดี

4.5 ครู ผู้บริหาร และนักเรียน มีสมุดบันทึกความดี

4.6 ครู ผู้บริหาร และนักเรียน สอบได้ธรรมศึกษาตรีเป็นอย่างน้อย

4.7 บริหารจิต เจริญปัญญา ก่อนการประชุมทุกครั้ง

4.8 มีพระมาสอนอย่างสม่ำเสมอ


5. ด้านกิจกรรมประจำวันพระ 4 ประการ

5.1 ใส่เสื้อขาวทุกคน

5.2 ทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์

5.3 รับประทานอาหารมังสวิรัติในมื้อกลางวัน

5.4 สวดมนต์แปล