ชื่อโครงการ
แผนงาน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
งานวิชาการ
โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์)
นางสาวพิมพ์สุภัค บุญเดช และนางสาวนิภา โพธิโคตร
สอดคล้องมาตรฐานภายในของสถานศึกษา
1. มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
1.1 ประเด็นพิจารณาที่ 2.6 : มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
2. มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 ประเด็นพิจารณาที่ 2.2 : มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
3. ยุทธศาสตร์ที่ 2 : กระบวนการบริหารและการจัดการ
3.1 กลยุทธ์ปฐมวัยที่ 10 : ผู้บริหารมีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
3.2 กลยุทธ์ขั้นพื้นฐานที่ 12 : ผู้บริหารมีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
ลักษณะโครงการ
ระยะเวลาที่เริ่มดำเนินการ
โครงการต่อเนื่อง
1 กรกฎาคม 2563 – 30 เมษายน 2564
1. หลักการและเหตุผล
การพัฒนาคุณภาพการศึกษานับเป็นหัวใจของการบริหารและการจัดการศึกษาในสถานศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มี ศักยภาพในการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง เป็นคนดี มีความสุขสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่าง มีความสุขตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นสถานศึกษาจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพทางการศึกษาของผู้เรียน ผู้เรียนต้องได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ. 2553 ได้เน้นเรื่องการประกันคุณภาพทางการศึกษา ด้วยเหตุผลนี้การยกระดับมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา สถานศึกษาจึงจัดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยการควบคุมคุณภาพการศึกษา
การตรวจสอบ/ทบทวนและปรับปรุงคุณภาพ นอกจากนี้ให้มีการประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา และมีการรับรองคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และสอดคล้องกับมาตรฐาน การศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 โดยคำนึงถึงกลไกและสภาพแวดล้อมของสถาน ศึกษาที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ให้ถือว่าการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาน ศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารและการจัดการศึกษาที่ต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครูและบุคลากรทาง ศึกษามีการบริหารและการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาของชาติ
จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมาทั้งสามครั้ง จึงจำเป็นที่สถานศึกษาจะต้องพัฒนาโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขึ้น เพื่อดำเนินการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเตรียมความพร้อมในการรองรับการ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สี่และเพื่อให้เห็นผลการดำเนินการที่ชัดเจน และนำมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย และมาตรฐานการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน มาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนด และเพื่อผลักดันให้สถานศึกษาแสดงความรับผิดชอบในการจัดการจัดการศึกษา เกิดการร่วมคิดร่วมทำระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้สถานศึกษามีคุณภาพตาม มาตรการศึกษาดังกล่าว และมีระบบการประกันคุณภาพภายในที่เข็มแข็งพร้อมรับการประเมินภายนอกรอบที่สี่ ด้วยความ จำเป็นดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สถานศึกษาจัดวางระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม มีขั้นตอนอย่างชัดเจน และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ
2. เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นอย่างดี
3. เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน/ท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา
3. เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1. คณะครูและบุคลากร ร้อยละ 87 มีส่วนร่วมในการประชุมเชิงปฏิบัติการการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 1 ครั้ง
2. คณะครูและบุคลากรร้อยละ 87 มีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาจากหน่วยงานต้นสังกัดประจำปีการศึกษา 2563 1 ครั้ง
3. โรงเรียนมีรายงานการประเมินตนเองปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 เล่ม
4. ร้อยละ 87 ของผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย มีความพึงพอใจ ในระดับดีเลิศ
เชิงคุณภาพ
1. โรงเรียนมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา
2. โรงเรียนมีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา
3. โรงเรียนนำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
4. โรงเรียนจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
5. ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายและมีความพึงพอใจ
4. วิธีดำเนินการ
กิจกรรม
1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติจากผู้บริหาร
ผู้รับผิดชอบ
นางสาวพิมพ์สุภัค บุญเดช
นางสาวนิภา โพธิโคตร
ระยะเวลา
ก.ค. 2563
2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรรมการดำเนินงานตามโครงการ
นางสาวจุฑาภรณ์ หาญพรหม
ก.ค. 2563
3. การดำเนินกิจกรรม
ประกาศมาตรฐานของสถานศึกษา
ประกาศค่าเป้าหมายของสถานศึกษา
จัดทำแบบเก็บข้อมูล
ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายใน 6 องค์ประกอบ
นางสาวพิมพ์สุภัค บุญเดช
นางสาวนิภา โพธิโคตร
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
4. จัดทำแบบประเมินโครงการ
นางสาวพิมพ์สุภัค บุญเดช
นางสาวนิภา โพธิโคตร
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
5. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง
นางสาวพิมพ์สุภัค บุญเดช
นางสาวนิภา โพธิโคตร
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
6. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการและรายงานผู้บริหารสถานศึกษา
นางสาวพิมพ์สุภัค บุญเดช
นางสาวนิภา โพธิโคตร
มี.ค. - เม.ย. 2564
5.งบประมาณ
4,500 บาท
6. รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม
ขั้น
P
ที่
1
กิจกรรม
ศึกษา รวบรวม ข้อมูล สภาพปัจจุบัน ปัญหา นำเสนอข้อมูล
ระยะเวลา
ปีการศึกษา 2563
ผู้รับผิดชอบ
คณะครู
P
2
ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
ก.ค. 2563
คณะครู
D
3
ดำเนินงานพัฒนาผู้เรียนชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ปีการศึกษา 2563
นางสาวพิมพ์สุภัค บุญเดช
นางสาวนิภา โพธิโคตร
C
4
นิเทศ ติดตามประเมินผล สรุปและรายงาน
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
นายชาญศิลป์ ส่งเสริม
นางสาวพิมพ์สุภัค บุญเดช
นางสาวนิภา โพธิโคตร
ครูประจำชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
A
5
นำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนา
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
นางสาวพิมพ์สุภัค บุญเดช
นางสาวนิภา โพธิโคตร
7. การติดตามประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. สถานศึกษาจัดวางระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม มีขั้นตอนอย่างชัดเจน และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ
วิธีการประเมิน
สังเกตพฤติกรรม
การตรวจเอกสาร หลักฐานร่องรอยหรือข้อมูลเชิงประจักษ์
เครื่องมือ
แบบสังเกตพฤติกรรม
การสัมภาษณ์
การสอบถาม
2. ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นอย่างดี
สังเกตพฤติกรรม
การตรวจเอกสาร หลักฐานร่องรอยหรือข้อมูลเชิงประจักษ์
แบบสังเกตพฤติกรรม
การสัมภาษณ์
การสอบถาม
3. พ่อแม่ ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน/ท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา
สังเกตพฤติกรรม
การตรวจเอกสาร หลักฐานร่องรอยหรือข้อมูลเชิงประจักษ์
แบบสังเกตพฤติกรรม
การสัมภาษณ์
การสอบถาม
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
โรงเรียนมีการบริหารงานอย่างเป็นระบบครบวงจร มีการพัฒนาบุคลากรครู ผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ
9. ผู้เสนอโครงการ
นางสาวพิมพ์สุภัค บุญเดช และนางสาวนิภา โพธิโคตร
10. ผู้เห็นชอบโครงการ
นายประเสริฐ จุลทอง
11. ผู้อนุมัติโครงการ
นายชาญศิลป์ ส่งเสริม