ชื่อโครงการ
แผนงาน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
โครงการวิจัยในชั้นเรียน
งานวิชาการ
โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์)
นางขนิษฐา รามางกูร
สอดคล้องมาตรฐานภายในของสถานศึกษา
1. มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
1.1 ประเด็นพิจารณาที่ 2.2 : จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน
1.2 ประเด็นพิจารณาที่ 2.3 : ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์
2. มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 ประเด็นพิจารณาที่ 2.4 : พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
3. ยุทธศาสตร์ที่ 2 : กระบวนการบริหารและการจัดการ
3.1 กลยุทธ์ปฐมวัยที่ 6 : ผู้บริหารมีการจัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน
3.2 กลยุทธ์ปฐมวัยที่ 7 : ผู้บริหารมีการส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์
3.3 กลยุทธ์ขั้นพื้นฐานที่ 14 : ผู้บริหารสถานศึกษามีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
ลักษณะโครงการ
ระยะเวลาที่เริ่มดำเนินการ
โครงการต่อเนื่อง
1 กรกฎาคม 2563 – 30 เมษายน 2564
1. หลักการและเหตุผล
การวิจัยในชั้นเรียนซึ่งทำโดยครูผู้สอน ถือว่าเป็นงานวิจัยที่เอื้อประโยชน์โดยตรงต่อการช่วยเหลือผู้ เรียน รวมทั้งมีประโยชน์ทางอ้อมในการใช้เพิ่มวิทยฐานะหรือประกอบการพิจารณาความดีความชอบต่างๆ แต่ทั้งนี้ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจใน เรื่องระเบียบวิธีวิจัย โดยจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในการสอนและการทำวิจัยของครูส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการทำวิจัยและ คิดว่าการทำวิจัยเป็นเรื่องยาก โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการทำวิจัยแบบแยกส่วน มีการทำกิจกรรมการเก็บข้อมูลการวิจัยเป็นโครงการเฉพาะกิจทำให้เสียเวลาไปกับการทำวิจัย เวลาที่อุทิศให้การสอนลดน้อยลง ทำให้การเรียนการสอนในชีวิตประจำวัน ได้รับผลกระทบครูทำการสอนไม่ได้เต็มที่จนเป็นเรื่องปกติที่กล่าวว่าครูทำการวิจัยงานสอนจะหย่อนลง จากปัญหาที่กล่าวมานี้ทำให้การวิจัยของครูไม่พัฒนาเท่าที่ควร
ดังนั้นเพื่อไม่ให้ครูที่ทำวิจัยในชั้นเรียนเกิดความท้อแท้ควรใช้วิธีการสนับสนุน ให้ครูทำวิจัยจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตการทำงานตามปกติ ให้เกิดความยั่งยืนของกิจกรรมการวิจัย ทำให้งานวิจัยในชั้นเรียนน่าสนใจ เป็นนวัตกรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาในชั้นเรียน มีหลักการและวิธีการที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนการสอนของครู โดยให้ครูได้เรียนรู้จากประสบการณ์และการปฏิบัติจริงของตนเอง งานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการจัดทำงานวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้แนวคิดและหลักการของการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ อันจะทำให้ครูได้รอบรู้ทั้งเนื้อหาวิชาการและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี ตามแนวทางของการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการของหลักสูตร
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้กระบวนการ PLC เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน อย่างน้อย 1 เรื่องใน 1 ภาคการศึกษา
2. เพื่อให้โรงเรียนมีงานวิจัยระดับโรงเรียนอย่างน้อย 1 เรื่องใน 1 ภาคการศึกษา
3. เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1. ครูร้อยละ 87 มีการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้กระบวนการ PLC เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในวิชาที่ตนรับผิดชอบ อย่างน้อย 1 เรื่องใน 1 ภาคการศึกษา
2. โรงเรียนมีงานวิจัยระดับโรงเรียนอย่างน้อย 1 เรื่องใน 1 ภาคการศึกษา
เชิงคุณภาพ
1. ครูทุกคนมีผลการประเมินงานวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้กระบวนการ PLC เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในวิชาที่ตนรับผิดชอบอยู่ในระดับผ่านขึ้นไป
2. โรงเรียนมีงานวิจัยระดับโรงเรียนที่เกิดจากความร่วมมือของครูในทุกระดับชั้นเรียน
4. วิธีดำเนินการ
กิจกรรม
1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติจากผู้บริหาร
ผู้รับผิดชอบ
นางขนิษฐา รามางกูร
ระยะเวลา
ก.ค. 2563
2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรรมการดำเนินงานตามโครงการ
นางสาวจุฑาภรณ์ หาญพรหม
ก.ค. 2563
3. การดำเนินการ
ส่งเสริมการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน
จัดทำงานวิจัยระดับโรงเรียน
นางขนิษฐา รามางกูร
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
4. จัดทำแบบประเมินโครงการ
นางขนิษฐา รามางกูร
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
5. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง
นางขนิษฐา รามางกูร
เม.ย. 2564
6. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการและรายงานผู้บริหารสถานศึกษา
นางขนิษฐา รามางกูร
มี.ค. - เม.ย. 2564
5.งบประมาณ
4,500 บาท
6. รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม
ขั้น
P
ที่
1
กิจกรรม
ศึกษา รวบรวม ข้อมูล สภาพปัจจุบัน ปัญหา นำเสนอข้อมูล
ระยะเวลา
ปีการศึกษา 2563
ผู้รับผิดชอบ
คณะครู
P
2
ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
ก.ค. 2563
คณะครู
D
3
ดำเนินงานส่งเสริมการจัดทำงานวิจัยในชั้นเรียน
ปีการศึกษา 2563
นางขนิษฐา รามางกูร
C
4
นิเทศ ติดตามประเมินผล สรุปและรายงาน
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
นายชาญศิลป์ ส่งเสริม
นางขนิษฐา รามางกูร
ครูประจำชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
A
5
นำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนา
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
นางขนิษฐา รามางกูร
ครูประจำชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
7. การติดตามประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. ครูทุกคนมีผลการประเมินงานวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้กระบวนการ PLC เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในวิชาที่ตนรับผิดชอบอยู่ในระดับผ่านขึ้นไป
วิธีการประเมิน
การสังเกต
การตรวจเอกสาร หลักฐานร่องรอยหรือข้อมูลเชิงประจักษ์
เครื่องมือ
แบบสังเกตพฤติกรรม
การสัมภาษณ์
การสอบถาม
2. โรงเรียนมีงานวิจัยระดับโรงเรียนที่เกิดจากความร่วมมือของครูในทุกระดับชั้นเรียน
การสังเกต
การตรวจเอกสาร หลักฐานร่องรอยหรือข้อมูลเชิงประจักษ์
แบบสังเกตพฤติกรรม
การสัมภาษณ์
การสอบถาม
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ครูทุกคนมีรายงานวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้กระบวนการ PLC เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในวิชาที่ตนรับผิดชอบ
9. ผู้เสนอโครงการ
นางขนิษฐา รามางกูร
10. ผู้เห็นชอบโครงการ
นายประเสริฐ จุลทอง
11. ผู้อนุมัติโครงการ
นายชาญศิลป์ ส่งเสริม