ชื่อโครงการ
แผนงาน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
โครงการส่งเสริมการฝึกทักษะอาชีพให้กับนักเรียน
งานวิชาการ
โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์)
นางฉัตรปวีณ์ ธนัตนัคพันธ์
สอดคล้องมาตรฐานภายในของสถานศึกษา
1. มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ประเด็นพิจารณาที่ 1.1.6 : มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ
2. ยุทธศาสตร์ที่ 1 : คุณภาพของเด็กและคุณภาพของผู้เรียน
2.1 กลยุทธ์ขั้นพื้นฐานที่ 6 : ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ
ลักษณะโครงการ
ระยะเวลาที่เริ่มดำเนินการ
โครงการต่อเนื่อง
1 กรกฎาคม 2563 – 30 เมษายน 2564
1. หลักการและเหตุผล
กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาในทุกระดับ เพื่อให้ผู้บริหารองค์กร ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรด้านการศึกษา และนักเรียน นักศึกษา มีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำหลักคิด หลักปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาบูรณาการในการบริหารจัดการ การเรียนการสอน ตลอดจนการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ก่อให้เกิดความตระหนักและฝังรากลึกภายในตนเอง และผู้อื่นอย่างยั่งยืนตลอดไป สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายขยายผลสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหาร จัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียง” โรงเรียนบ้านฝั่งแดง
(พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในฐานะที่ทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนา จึงทรงน้อมนำพระราชดำรัสเรื่อเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักปรัชญาวิถีชีวิตในการดำเนินการ สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม รวมทั้งปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำเนินชีวิตของคนให้อยู่บนพื้นฐาน ของความพอเพียงและเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โรงเรียนบ้านฝั่งแดง(พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อกำหนดเป้าหมายให้มีสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง)
2. เพื่อนำเอาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นบริบทในการบริหารจัดการของโรงเรียนได้อย่างเหมาะสมและมีผลสู่การดำเนินวิถีชีวิตที่มีคุณภาพของนักเรียน
3. เพื่อใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้หรือรูปแบบของครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ในการดำเนินการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1. นักเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง ได้เรียนรู้เพื่อนำสู่ชีวิตจริงของชุมชน ร้อยละ 77
2. นักเรียน ชุมชน ครองตนดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข ร้อยละ 77
เชิงคุณภาพ
1. โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในการศึกษาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาพอเพียง
2. สามารถพัฒนาสถานศึกษาเป็น Best Practice
4. วิธีดำเนินการ
กิจกรรม
1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติจากผู้บริหาร
ผู้รับผิดชอบ
นางฉัตรปวีณ์ ธนัตนัคพันธ์
ระยะเวลา
ก.ค. 2563
2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรรมการดำเนินงานตามโครงการ
นางสาวจุฑาภรณ์ หาญพรหม
ก.ค. 2563
3. การดำเนินกิจกรรม
กิจกรรมวิถีธรรม วิถีฝั่งแดง
กิจกรรมวิถีฝั่งแดง วิถีอุ่นรัก
นางฉัตรปวีณ์ ธนัตนัคพันธ์
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
4. ครูทำเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมผู้เรียนระหว่างดำเนินการจัดกิจกรรม
นางฉัตรปวีณ์ ธนัตนัคพันธ์
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
5 ประเมินพฤติกรรมผู้เรียนระหว่างดำเนินกิจกรรม
นางฉัตรปวีณ์ ธนัตนัคพันธ์
ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
6. จัดทำแบบประเมินโครงการ
นางฉัตรปวีณ์ ธนัตนัคพันธ์
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
7. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง
นางฉัตรปวีณ์ ธนัตนัคพันธ์
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
8. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการและรายงานผู้บริหารสถานศึกษา
นางฉัตรปวีณ์ ธนัตนัคพันธ์
มี.ค. - เม.ย. 2564
5.งบประมาณ
9,000 บาท
6. รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม
ขั้น
P
ที่
1
กิจกรรม
ศึกษา รวบรวม ข้อมูล สภาพปัจจุบัน ปัญหา นำเสนอข้อมูล
ระยะเวลา
ปีการศึกษา 2563
ผู้รับผิดชอบ
คณะครู
P
2
ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
ก.ค. 2563
คณะครู
D
3
ดำเนินงานพัฒนาผู้เรียนชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ปีการศึกษา 2563
นางฉัตรปวีณ์ ธนัตนัคพันธ์
C
4
นิเทศ ติดตามประเมินผล สรุปและรายงาน
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
นายชาญศิลป์ ส่งเสริม
นางฉัตรปวีณ์ ธนัตนัคพันธ์
ครูประจำชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
A
5
นำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนา
ก.ค. 2563 - เม.ย. 2564
นางฉัตรปวีณ์ ธนัตนัคพันธ์
ครูประจำชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
7. การติดตามประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. นักเรียน ชุมชน มีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนที่สามารถเป็น Best Practice เป็นแบบอย่างได้
วิธีการประเมิน
การสังเกต
การตรวจเอกสาร หลักฐานร่องรอยหรือข้อมูลเชิงประจักษ์
เครื่องมือ
แบบสังเกตพฤติกรรม
การสัมภาษณ์
การสอบถาม
2. โรงเรียน ตำบล ชุมชนมีแหล่งศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติได้ครบวงจร เป็นที่ยอมรับพร้อมเป็นแบบอย่างที่ดีและยั่งยืน
การสังเกต
การตรวจเอกสาร หลักฐานร่องรอยหรือข้อมูลเชิงประจักษ์
แบบสังเกตพฤติกรรม
การสัมภาษณ์
การสอบถาม
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ครู/นักเรียน/บุคลากร/ผู้ปกครอง/ชุมชนเข้าใจในทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
2. ครู/นักเรียน/บุคลากร/ผู้ปกครอง/ชุมชนได้นำเอาหลักประกันเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ได้อย่างถูกต้องในชีวิตประจำวัน
3. ครู/นักเรียน/บุคลากร/ผู้ปกครอง/ชุมชนเกิดความภาคภูมิใจที่มีโอกาสได้แสดงความจงรักภักดีแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสอันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย
4. เกิดความสุขอันยั่งยืนสำหรับผู้ประพฤติปฏิบัติตนตามแนวพระราชดำริ
5. ชุมชนโรงเรียนเป็นสังคมคุณธรรมนำความรู้อย่างยั่งยืนอย่างแท้จริงตลอดไปอย่างมีความสุข
6. โรงเรียนเป็นโรงเรียนแบบอย่าง “สถานศึกษาพอเพียง” ของกระทรวงศึกษาธิการ
9. ผู้เสนอโครงการ
นางฉัตรปวีณ์ ธนัตนัคพันธ์
10. ผู้เห็นชอบโครงการ
นายประเสริฐ จุลทอง
11. ผู้อนุมัติโครงการ
นายชาญศิลป์ ส่งเสริม